องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมโควตาการผลิตสำหรับวัตถุดิบเพื่อให้แน่ใจว่าราคาในตลาดน้ำมันระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ขององค์กรคือการเคารพผลประโยชน์ของประเทศผู้ผลิต และความจำเป็นในการสร้างรายได้ที่มั่นคงสำหรับประเทศผู้ผลิต การจัดหาน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสม่ำเสมอให้กับประเทศผู้บริโภค และผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นธรรมให้กับผู้ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน เป้าหมายอีกประการหนึ่งของพันธมิตรคือการลดการควบคุมอุตสาหกรรมน้ำมันจากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมโควตาการผลิตสำหรับวัตถุดิบเพื่อให้แน่ใจว่าราคาในตลาดน้ำมันระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ขององค์กรคือการเคารพผลประโยชน์ของประเทศผู้ผลิต และความจำเป็นในการสร้างรายได้ที่มั่นคงสำหรับประเทศผู้ผลิต การจัดหาน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสม่ำเสมอให้กับประเทศผู้บริโภค และผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นธรรมให้กับผู้ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน เป้าหมายอีกประการหนึ่งของพันธมิตรคือการลดการควบคุมอุตสาหกรรมน้ำมันจากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
กลุ่ม OPEC เดิมได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เมื่ออิหร่าน อิรัก ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และเวเนซุเอลา พบกัน และตกลงที่จะให้การผลิตน้ำมันเป็นของรัฐ และเห็นด้วยกับแผนการผลิต ปัจจุบันกลุ่ม OPEC ประกอบไปด้วยประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 13 ประเทศ ซึ่งได้แก่ แอลจีเรีย แองโกลา คองโก อิเควทอเรียลกินี กาบอง อิหร่าน อิรัก คูเวต ลิเบีย ไนจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา สมาชิกในปัจจุบัน 13 ประเทศ คิดเป็น 40% ของการผลิตน้ำมันประจำปีของโลก และประมาณ 80% ของปริมาณสำรองของโลกที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
ในปี พ.ศ. 2559 ในประเทศแอลจีเรีย ประเทศใหญ่ ๆ ในกลุ่ม OPEC และผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อื่น ๆ ได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตร OPEC+ ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งรวมถึงประเทศอื่น ๆ เช่น อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน บรูไน คาซัคสถาน มาเลเซีย เม็กซิโก โอมาน รัสเซีย ซูดานใต้ และซูดาน OPEC+ เพิ่มส่วนแบ่งการควบคุมตลาดขึ้นเป็น 55% และ 90% ตามลำดับ ประเทศในกลุ่ม OPEC+ จะมีการประชุมกันทุกเดือน โดยปกติจะมีขึ้นในวันพุธ และพฤหัสบดีแรกของเดือน
ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศในกลุ่ม OPEC+ ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย และญี่ปุ่น
ทำไมนักเทรดจึงต้องติดตามการประชุม OPEC+?
ในแต่ละปี ประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะจัดทำแผนโควตาว่าแต่ละประเทศควรผลิตน้ำมันมากแค่ไหน จากนั้น ประเทศในกลุ่ม OPEC+ จะประชุมกันทุกเดือนเพื่อปรับแผนเริ่มต้น เนื่องจากอุปสงค์ และอุปทานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โรคระบาด สงคราม อุบัติเหตุทางท่อ ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ระดับสินค้าคงคลัง การปล่อยสำรองเชิงกลยุทธ์ การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมัน การคว่ำบาตรผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และฤดูร้อน/ฤดูหนาว ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ และอุปทานในตลาดน้ำมัน
ความท้าทายหลักสำหรับนักลงทุนคือการกำหนดว่าระดับการผลิตน้ำมันในปัจจุบันเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ หากการผลิตเป็นไปตามระดับการผลิต ราคาน้ำมันจะทรงตัวเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้น และหลายประเทศปิดตัวลงเพื่อล็อกดาวน์ จำนวนผู้ใช้น้ำมันลดลงอย่างรวดเร็วแต่ระดับการผลิตยังคงสูงอยู่ เป็นผลให้ไม่มีสถานที่กระจายน้ำมัน แม้แต่เรือเองก็ถูกนำมาใช้ในการบรรทุกจัดเก็บน้ำมันอยู่บนทะเล อุปสงค์ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีอุปทานมากเกินไป ราคาน้ำมันตกลงไปถึงศูนย์ และลดลงต่ำกว่าศูนย์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
จากนั้นผู้ผลิตน้ำมันก็ลดการผลิตลงอย่างรวดเร็ว การลดการผลิตน้ำมันได้รับการยอมรับในการประชุม OPEC+ อุปทานเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันจึงเริ่มทรงตัว การผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำจนกระทั่งความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเริ่มฟื้นตัว ในที่สุดผู้ผลิตน้ำมันก็สามารถรักษาระดับการผลิตให้ต่ำจนกระทั่งอุปสงค์มีปริมณเกินกว่าอุปทานได้อีกครั้ง ราคาน้ำมันจึงเริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง
ดังนั้น การทำความเข้าใจความต้องการของตลาดสำหรับน้ำมันควบคู่ไปกับระดับการผลิตของ OPEC+ จะทำให้นักลงทุนเข้าใจถึงความไม่สมดุลในตลาดได้ ความไม่สมดุลของอุปทาน/อุปสงค์ก่อให้เกิดแนวโน้มระยะกลางในตลาดน้ำมัน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ OPEC+ มีอิทธิพลต่อตลาดซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากประเทศสมาชิกมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบจำนวนมาก องค์กรจึงมีอิทธิพลอย่างมากในตลาดเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นพันธมิตร สมาชิก OPEC+ มีแรงจูงใจที่จะรักษาราคาน้ำมันให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะที่กำลังรักษาส่วนแบ่งตลาดโลกเอาไว้
ขอให้ได้รับกำไรจากการซื้อขายนะคะ.