การเรียนรู้

ก.ค. 4

1 นาทีที่อ่าน

การวิเคราะห์พื้นฐาน และทางเทคนิค สิ่งที่นักเทรดต้องทราบ

การวิเคราะห์พื้นฐาน และทางเทคนิค สิ่งที่นักเทรดต้องทราบ

ในบทความนี้ เราจะไม่เจาะลึกคำศัพท์เพราะมีคำอธิบายมากมายว่าการวิเคราะห์ทางพื้นฐานคืออะไร การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร และข้อดี ข้อเสียคืออะไร ในบทความนี้ เราจะพยายามกำหนดสถานการณ์ที่นักเทรดควรใช้หนึ่งข้อของการวิเคราะห์ หรือการวิเคราะห์ประเภทอื่น

ข้อแรก หากคุณทำซื้อขายด้วยโปรแกรมซื้อขายอัตโนมัติ (EA) ความถี่สูง Arbitrage EAs หรือ Scalper EAs และไม่ชัดเจน ในกรณีนี้ การวิเคราะห์พื้นฐาน 100% จะเป็นรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

ในกรณีอื่น ๆ ทั้งหมด แม้ว่าคุณจะเป็นแฟนตัวยงของตัวชี้วัดทางเทคนิค รูปแบบของกราฟ Elliott Waves วิธี Gann หรือรูปแบบฮาร์มอนิก หรือหากคุณซื้อขายภายในระหว่างวัน ในกรณีเหล่านี้ คุณเพียงแค่ต้องเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของตราสาร และจุดที่ราคาจะเคลื่อนไหวในระยะยาว ตัวอย่างเช่น สมมติว่าธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในขณะที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่นคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ต่ำกว่าศูนย์ และความแตกต่างระหว่างอัตราได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในกรณีดังกล่าว สถานการณ์นี้จะส่งทำผลให้ราคา USD/JPY เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ค่าเงินของประเทศนั้นจะแข็งค่าขึ้น คุณสามารถดูได้จากกราฟ USD/JPY ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยนี้เพียงอย่างเดียวจะทำให้คุณสามารถมองหารูปแบบ หรือสัญญาณของราคาที่จะทำให้คุณมองเห็นทิศทางของราคาที่ถูกต้องได้ พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า องค์ประกอบพื้นฐานจะอยู่ใกล้กับตำแหน่งของคุณซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับคุณได้

ตัวอย่างสำหรับกรณีที่สองนี้ เช่น คุณซื้อขายน้ำมัน การทำความเข้าใจว่า เมื่อประเทศในกลุ่ม OPEC+ ผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอสำหรับอุปสงค์ ราคาน้ำมันจะมีราคาสูงขึ้น การคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันมักส่งผลให้มีราคาสูงขึ้น และมันยังเป็นประโยชน์สำหรับนักเทรดฟอเร็กซ์อีกด้วยแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ค้าน้ำมันก็ตาม ตัวอย่างเช่น ดอลลาร์แคนาดาเป็นสกุลเงินสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นแทบจะทำให้ค่าเงินของแคนาดาแข็งแกร่งขึ้น

สำหรับกรณีที่สาม คือ คุณกำลังซื้อขายดัชนีสหรัฐ ดัชนีจะมีอยู่สองกรณี กรณีแรก: เมื่อเศรษฐกิจทำได้ดี อัตราเงินเฟ้อ และการว่างงานจะทรงตัว และไม่เพิ่มขึ้น และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และภาคการผลิตก็จะแสดงการเติบโตให้เห็น กรณีที่สอง: ธนาคารกลางยึดนโยบายกระตุ้น และปั๊มเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ในกรณีตรงกันข้าม ดัชนีจะลดลง

ตัวอย่าง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กำลังปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น และลดงบดุลของเฟด การตัดงบดุลของเฟดเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการจัดพิมพ์เงินเมื่อมีการถอนเงินจำนวนมากออกจากระบบการเงิน อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ GDP ของสหรัฐฯ กำลังลดลง รวมถึงกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจกำลังตกต่ำ ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมดัชนี S&P 500 (US500) Dow Jones (US30) และ Nasdaq (US100) ถึงได้ลดลงตั้งแต่ในช่วงต้นปี และการกลับตัวของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อเฟดหยุดนโยบายการเงินที่เข้มงวด และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่น ๆ หยุดลดระดับลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มย้อนกลับ

สถิติแสดงให้เห็นว่าคุณไม่สามารถเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวได้หากไม่มีการพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติมซึ่งหลัก ๆ ได้แก่ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ระดับการผลิต กิจกรรมทางธุรกิจ GDP ดุลการค้า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอื่น ๆ มันคุ้มค่าที่จะใช้เวลาพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ และท้ายที่สุดมันจะตอบแทนคุณในรูปแบบของการเทรดใหม่ ๆ ที่สามารถทำกำไรได้ โปรดจำไว้ว่ากองทุนป้องกันความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จทั้งหมดนั้น เราล้วนแล้วแต่มีแผนกวิจัยทางเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทั้งหมด และเราไม่ได้มีแผนกเหล่านี้เอาไว้เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่เรามีไว้เพื่อแจ้งให้นักเทรดทราบข่าวสารต่าง ๆ

ขอให้ได้รับกำไรจากการซื้อขายนะคะ