การซื้อขายฟอเร็กซ์นำเสนอโอกาสที่หลากหลาย และวิธีที่นักเทรดเลือกใช้ในตลาดสามารถส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของนักเทรดได้สูง ในกลุ่มนักเทรดมักจะตั้งคำถามว่าซื้อขายกับใครดีกว่ากัน — สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย หรือโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์แบบดั้งเดิม ทั้งสองอย่างมีข้อดี และข้อเสียของตัวเอง และการทำความเข้าใจสิ่งนี้สามารถช่วยให้นักเทรดสามารถตัดสินใจได้ว่าเส้นทางไหนที่เหมาะกับเป้าหมาย และสไตล์การซื้อขายของพวกเขามากกว่ากัน

สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย หรือโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์คืออะไร?

ก่อนที่เราจะตรวจสอบข้อดีข้อเสีย เรามาทำความเข้าใจก่อนว่าสถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย และโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์คืออะไรกันก่อน

สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย: บริษัทเหล่านี้ช่วยให้นักเทรดสามารถเข้าถึงเงินทุนของบริษัทเพื่อซื้อขายได้ นักเทรดใช้เงินของบริษัทมากกว่าของตนเอง และบ่อยครั้งที่พวกเขาจำเป็นต้องผ่านการทดสอบ หรือการประเมินคุณสมบัติเพื่อแสดงทักษะการซื้อขายของนักเทรด สถาบันการเงินจะได้รับส่วนแบ่งกำไรเป็นการตอบแทน

โบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์: โบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่อำนวยความสะดวกในการซื้อ และขายสกุลเงินสำหรับนัดเทรดรายเล็ก นักเทรดเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ฝากเงิน และซื้อขายโดยตรงในตลาดฟอเร็กซ์ ความรับผิดชอบต่อกำไร หรือขาดทุนเป็นของนักเทรดแต่เพียงผู้เดียว

ข้อดี และข้อเสียของสถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย

ข้อดี

1. สามารถเข้าถึงเงินทุนจำนวนมากได้
สถาบันการเงินให้กำลังซื้อที่สำคัญแก่นักเทรดตั้งแต่จำนวนหลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านดอลลาร์ สิ่งนี้ทำให้นักเทรดสามารถทำกำไรได้มากเกินกว่าที่พวกเขาจะทำได้ด้วยบัญชีส่วนตัวขนาดเล็ก การเพิ่มทุนสามารถช่วยให้นักเทรดใช้เทคนิคการบริการความเสี่ยงที่ดีขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยยอดคงเหลือเพียงเล็กน้อย

2. ความเสี่ยงที่จำกัดสำหรับเงินส่วนตัว
เนื่องจากนักเทรดใช้เงินทุนของสถาบันการเงิน ความเสี่ยงต่อเงินทุนจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แม้ว่าสถาบันการเงินบางแห่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับขั้นตอนการประเมิน แต่มักจะน้อยกว่าการฝากเงินเข้าบัญชีซื้อขายด้วยตัวคุณเอง การใช้สถาบันการเงินนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเทรดที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะทำการซื้อขายด้วยตนเอง

3. โปรแกรมการซื้อขายที่มีโครงสร้าง และการให้คำปรึกษา
สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขายหลายแห่งนำเสนอโปรแกรมการซื้อขายที่มีโครงสร้าง ทรัพยากรทางการศึกษา และการให้คำปรึกษา โปรแกรมเหล่านี้เร่งการเรียนรู้ และช่วยทำให้นักเทรดสามารถฝึกฝนกลยุทธ์ของพวกเขาได้ ความสำเร็จของบริษัทมักจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของนักเทรดซึ่งเป็นแรงจูงใจให้สถาบันการเงินให้การสนับสนุนที่เพียงพอ

4. สิ่งจูงใจในการแบ่งปันผลกำไร
นักเทรดจะสามารถเก็บผลกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์จำนวนมาก และสถาบันการเงินบางแห่งอาจนำเสนอส่วนแบ่งผลกำไรสูงถึง 80% หรือ 90% นี่อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์ และต้องการเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุนเงินทุนส่วนตัวจำนวนมาก

ข้อเสีย

1. ขั้นตอนการประเมินที่เข้มงวด
นักเทรดจะต้องผ่านขั้นตอนการประเมินที่เข้มงวดเพื่อให้มีคุณสมบัติในการซื้อขายกับสถาบันการเงิน ขั้นตอนนี้มักจะมีเป้าหมายกำไรที่เข้มงวด และขีดจำกัดการขาดทุนซึ่งอาจทำให้นักเทรดบางรายทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก หากนักเทรดไม่ผ่านการประเมินอาจทำให้สูญเสียค่าธรรมเนียมการประเมินได้

2. การแบ่งปันผลกำไร
แม้ว่านักเทรดจะเก็บผลกำไรส่วนใหญ่เอาไว้ แต่พวกเขาไม่ได้เก็บกำไรไว้เอง 100% รูปแบบการแบ่งผลกำไรนี้ถือเป็นข้อเสียสำหรับนักเทรดที่ต้องการเก็บผลกำไรทั้งหมดไว้

3. กฎการซื้อขายที่เข้มงวด
สถาบันการเงินอาจกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น การขาดทุนรายวันสูงสุด การหยุดขาดทุนที่มีการบังคับ หรือข้อจำกัดในการซื้อขายช่วงสุดสัปดาห์ กฎเหล่านี้สามารถจำกัดกลยุทธ์ และความยืดหยุ่นของนักเทรดซึ่งอาจไม่เหมาะกับรูปแบบการซื้อขายทั้งหมด

4. ค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือค่าประเมิน
สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขายหลายแห่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้าสำหรับขั้นตอนการประเมิน ตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 ดอลลาร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของบัญชี ในบางกรณี นักเทรดอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือนเพื่อรักษาการเข้าถึงเงินทุนของบริษัทซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายเพิ่มขึ้น

ข้อดี และข้อเสียของโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์

ข้อดี

1. ควบคุมการซื้อขายได้อย่างสมบูรณ์
เมื่อซื้อขายกับโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ นักเทรดมีอิสระเต็มที่ในการตัดสินใจซื้อขาย ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับกลยุทธ์การซื้อขาย การขาดทุน หรือตราสาร ช่วยให้นักเทรดสามารถนำกลยุทธ์ของตนไปใช้ได้ตามที่เห็นสมควร

2. ไม่มีการแบ่งกำไร
กำไรทั้งหมดที่ได้จากการซื้อขายกับโบรกเกอร์เป็นของนักเทรดแต่เพียงผู้เดียว ไม่จำเป็นต้องแบ่งปันผลกำไรกับโบรกเกอร์ซึ่งสามารถดึงดูดนักเทรดที่มีความมั่นใจที่ต้องการเก็บผลกำไรทั้งหมดไว้กับตนเอง

3. ประเภทบัญชีที่หลากหลาย และตัวเลือกเลเวอเรจที่หลากหลาย
โบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์นำเสนอประเภทบัญชีที่หลากหลายให้กับนักเทรดที่มีความแตกต่างกัน ตั้งแต่บัญชีขนาดเล็กสำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึงบัญชี ECN ระดับพรีเมียมสำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์ นอกจากนี้ โบรกเกอร์มักมีตัวเลือกเลเวอเรจที่แตกต่างกันซึ่งช่วยทำให้นักเทรดสามารถเลือกเลเวอเรจที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้

4. ลดต้นทุนให้นักเทรดที่ทำการซื้อขายเป็นประจำ
สำหรับนักเทรดที่มีความถี่สูง การซื้อขายกับโบรกเกอร์จะคุ้มค่ากว่าเนื่องจากไม่มีค่าธรรมเนียมการประเมินราคา หรือค่าธรรมเนียมการเข้าถึงเงินทุนอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายจะจำกัดอยู่ที่ค่าสเปรด และค่าคอมมิชชั่น ซึ่งอาจค่อนข้างต่ำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์แต่ละราย

ข้อเสีย

1. ความเสี่ยงของเงินส่วนตัว
เมื่อทำการซื้อขายกับโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์ นักเทรดกำลังใช้เงินทุนของนักเทรดเอง ซึ่งหมายความว่านักเทรดสามารถสูญเสียเงินที่ฝากไว้ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้เริ่มต้น หรือนักเทรดที่มีประสบการณ์น้อย

2. ข้อจำกัดด้านเงินทุน
นัดเทรดรายเล็กที่ใช้โบรกเกอร์อาจไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนในระดับเดียวกับที่สถาบันการเงินนำเสนอให้ สิ่งนี้สามารถจำกัดศักยภาพในการทำกำไร และทำให้เพิ่มการซื้อขายได้ยาก

3. ขาดการสนับสนุนที่มีโครงสร้าง
โดยทั่วไปแล้วโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์ไม่ได้จัดให้มีการฝึกอบรม หรือการให้คำปรึกษาแบบมีโครงสร้างซึ่งแตกต่างจากสถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขาย นักเทรดจะต้องค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาเอง และพัฒนากลยุทธ์เองได้อย่างอิสระ

บทสรุป

ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีคำตอบเดียวที่สามารถตอบคำถามให้กับทุกคนได้ นักเทรดต้องประเมินสถานการณ์ทางการเงิน การยอมรับความเสี่ยง และเป้าหมายการซื้อขายเพื่อพิจารณาว่าตัวเลือกไหนเหมาะกับวัตถุประสงค์ของตนมากที่สุด สถาบันการเงินที่ใช้เงินของสถาบันฯ ทำการซื้อขายอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า หากคุณให้ความสำคัญกับการเข้าถึงเงินทุนจำนวนมากโดยลดความเสี่ยงส่วนบุคคล และการสนับสนุนที่มีโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม การซื้อขายกับโบรกเกอร์ให้บริการฟอเร็กซ์อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า หากคุณต้องการควบคุมการซื้อขายของคุณเต็มที่ เก็บผลกำไรทั้งหมด และมีเงินทุนที่จะรองรับความเสี่ยง

นักเทรดจำนวนมากเลือกที่จะรวมทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกันโดยทำการซื้อขายกับสถาบันการเงินในขณะที่ยังคงทำการซื้อขายจากบัญชีส่วนตัวกับโบรกเกอร์เพื่อกระจายประสบการณ์การซื้อขาย และแหล่งรายได้