สินค้าโภคภัณฑ์

ก.ค. 4

1 นาทีที่อ่าน

ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน?

ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน?

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมันมีอยู่มากมาย เรามาดูปัจจัยหลัก ๆ กัน

  • อุปสงค์ และอุปทาน นี่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด กฎทั่วไปของอุปสงค์ และอุปทาน: เมื่ออุปสงค์ของน้ำมันสูงกว่าอุปทานที่มีอยู่ ราคามักจะสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อมีอุปทานส่วนเกิน ราคามักจะลดลง
  • การตัดสินใจของโอเปค (OPEC) องค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) เป็นพันธมิตรที่ควบคุมส่วนสำคัญของการผลิตน้ำมันทั่วโลก การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับการผลิตอาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงมาก ตัวอย่างเช่น หากราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มประเทศ OPEC+ อาจตกลงที่จะลดการผลิตน้ำมัน ลดอุปทานในตลาดน้ำมัน และหยุดการลดลงของราคา
  • สภาพเศรษฐกิจ สภาวะของเศรษฐกิจโลกสามารถส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันได้เช่นกัน เมื่อเศรษฐกิจเติบโต ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ทำให้ราคาลดลง ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าอุปสงค์ของจีนจะเพิ่มขึ้นหลังจากมีการยกเลิกข้อจำกัดของโรคโควิด เมื่อมีอุปทานเพียงพอในตลาด ดังนั้นอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
  • เหตุการณ์ทางการเมือง ความไม่แน่นอนทางการเมือง สงคราม และความขัดแย้งในภูมิภาคที่ผลิตน้ำมันรายใหญ่สามารถขัดขวางอุปทาน และทำให้ราคาสูงขึ้น หลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากประเทศในยุโรปเริ่มปฏิเสธน้ำมันของรัสเซีย และอุปทานหยุดชะงัก อีกหนึ่งตัวอย่าง ในช่วงโควิด-19 เศรษฐกิจหลายแห่งเริ่มปิดตัวลง ผู้คนเริ่มเดินทางน้อยลง อุปสงค์ลดลงในขณะที่อุปทานยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยธรรมชาติ เช่น พายุเฮอริเคน และแผ่นดินไหวสามารถขัดขวางการผลิต และการขนส่งน้ำมันซึ่งทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การหยุดชะงักของท่อเนื่องจากสภาพอากาศอาจทำให้อุปทานน้ำมันหยุดชะงักได้ การหยุดชะงักของอุปทาน คือ การลดลงของอุปทาน เมื่ออุปสงค์สูงขึ้นก็ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ปกติแล้ว ราคาน้ำมันมีราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนน้ำมันสำหรับผู้ซื้อในประเทศอื่น ๆ

สรุปได้ว่า: ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อมีอุปสงค์สูง และอุปทานมีจำกัด รวมถึงในช่วงที่ภูมิรัฐศาสตร์ไร้เสถียรภาพ และเกิดภัยธรรมชาติจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การผลิตหยุดชะงัก ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ อุปทานส่วนเกิน และสภาวะทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีเสถียรภาพ